ตัวชี้วัดอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน



คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน (ASEAN Working Group on Environmentally Sustainable Cities: AWGESC) ได้มีการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยประสานงานกลาง (National Focal Point) ของประเทศไทย ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการจัดทำกรอบการดำเนินงานด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน และพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน เป็นมาตรการกระตุ้นให้เมืองในภูมิภาคอาเซียนดำเนินงานตามกรอบและตัวชี้วัดอาเซียนนี้

ตัวชี้วัดอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
ตัวชี้วัดด้านอากาศ (Clean Air)
ตัวชี้วัดด้านน้ำ (Clean Water)
ตัวชี้วัดด้านขยะและพื้นที่สีเขียว (Clean and Green Land)



 

ตัวชี้วัดด้านอากาศ (Clean Air)
1.เพื่อให้แน่ใจว่ามีข้อมูลคุณภาพอากาศที่เชื่อถือได้
1.1 ความถี่ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่เชื่อถือได้ (น้ำหนัก 50%)
จำนวนครั้งที่ตรวจวัดต่อปี
คะแนน
0
0
1-10
25
11-25
50
>25
75
ตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง
100

1.2 จำนวนสารมลพิษที่ตรวจวัด (น้ำหนัก 30%)
สารมลพิษที่ตรวจวัด
คะแนน
0
0
PM10
25
PM10 และสารมลพิษอื่นอีก 1 ชนิด
50
PM10 และสารมลพิษอื่นอีก 2 ชนิด
75
PM10 และสารมลพิษอื่นอีก 3 ชนิด
100

1.3 ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นต่อต่อวันของ PM10 ที่ผ่านค่ามาตรฐาน (น้ำหนัก 20 %)
ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นต่อวันของ PM10 ที่ผ่านค่ามาตรฐาน
คะแนน
เกินค่ามาตรฐานของประเทศ
0
เป็นไปตามมาตรฐานของประเทศ
75
เป็นไปตามมาตรฐานของ WHO
100

2.เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ
2.1 การให้บริการรถขนส่งสาธารณะ (น้ำหนัก 50%)
การให้บริการรถขนส่งสาธารณะ
คะแนน
มีรถขนส่งสาธารณะที่อยู่นอกการควบคุมของรัฐ
25
มีรถขนส่งสาธารณะที่รัฐควบคุม แต่ไม่มีการจัดระเบียบและไม่เน้นการบริการ
50
มีทั้งรถขนส่งสาธารณะที่นอกการควบคุมของรัฐ และอยู่ในการควบคุมของรัฐ
75
มีรถขนส่งสาธารณะที่มีการจัดระเบียบ และอยู่ในการควบคุมของรัฐ
100
2.2 ระบบตรวจวัดยานยนต์ (น้ำหนัก 25%)
ระบบตรวจวัดยานยนต์
คะแนน
ไม่มีระบบตรวจวัดยานยนต์
25
มีการสุ่มตรวจวัดยานยนต์ริมถนน
50
มีการตรวจวัดยานยนต์เป็นประจำ
75
มีทั้งการสุ่มตรวจวัดยานยนต์ริมถนน และตรวจวัดยานยนต์เป็นประจำ
100

2.3 ร้อยละของยานยนต์ที่ผ่านค่ามาตรฐาน
ร้อยละของยานยนต์
คะแนน
ไม่มีการรายงานผล
0
0-25
25
>25-50
50
>50-75
75
>75-100
100

3.เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งปล่อยอุตสาหกรรม
3.1 ระบบการตรวจวัดมลพิษในอุตสาหกรรม
ระบบการตรวจวัดมลพิษในอุตสาหกรรม
คะแนน
ไม่มีการตรวจวัดมลพิษ
25
มีการสุ่มตรวจวัดมลพิษ
50
มีการตรวจวัดมลพิษเป็นประจำ (ตามกฎระเบียบ)
75
มีการสุ่มตรวจวัดมลพิษ และตรวจวัดเป็นประจำ (ตามกฎระเบียบ)
100

4.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
4.1 โครงการริเริ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
โครงการริ่เริ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
คะแนน
ไม่มี
25
เป็นโครงการและมีการดำเนินงานในระดับประเทศ
50
เป็นโครงการและมีการดำเนินงานในระดับจังหวัด
/ท้องถิ่น หรือดำเนินงานต่อยอดในโครงการระดับประเทศ
75


 

โครงการรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน
สำนักสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
60/1 ซอยพิบูลย์วัฒนา 7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ (02)265-6574 สงวนลิขสิทธิ์ 2556
Free Web Hosting